เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



จิตอาสาโคกกระชาย-โคราช “สานต่องานที่พ่อทำ”ทำโป่งเที่ยม-ฝายต้นน้ำ


24 พ.ย. 2565, 06:02



จิตอาสาโคกกระชาย-โคราช “สานต่องานที่พ่อทำ”ทำโป่งเที่ยม-ฝายต้นน้ำ




วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. นายพีรวัฒน์ ธีระวัฒนา นายอำเภอครบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ณ บริเวณห้วยหนองขอนป่าครบุรี หมู่ที่ 11 ตำบลโคกกระชาย

ซึ่งอำเภอครบุรี ร่วมกับหน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ นม.6 (ครบุรี) และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอครบุรี (พชอ.ครบุรี) ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ขึ้นโดยมีการทำโป่งเทียมให้สัตว์ป่า และฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน เป็นฝายที่กักเก็บน้ำให้ไหลได้ช้าลง และซึมลงใต้ผิวดิน สร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณโดยรอบ มีอาหารให้สัตว์ป่าได้ดื่มกิน เป็นการเพิ่มแหล่งอาหารและน้ำให้สัตว์ป่าในพื้นที่ และลดผลกระทบที่เกิดจากสัตว์ป่าออกหากินนอกพื้นที่  โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ, คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกระชาย , พนักงานส่วนท้องถิ่น , กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน , คณะครู นักเรียน, และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรม



เมื่อเรามาสร้างฝายและเพิ่มแร่ธาตุให้โป่งแห่งนี้แล้ว จะเป็นผลดีต่อทั้งพืชและสัตว์ป่าเป็นอย่างมาก มีน้ำก็มีความชุ่มชื้น ต้นไม้ใบหญ้าก็เขียวขจี เป็นอาหารให้สัตว์กินหญ้า มีเสริมแร่ธาตุด้วยโป่ง ดื่มน้ำจากฝายและส่งผลต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์ล่าเนื้อต่อไป เรียกว่าเพียงสร้างฝายก็สร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้


เมื่อพูดถึง ฝายชะลอน้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่เกี่ยวเนื่องกับการปลูกป่าดังพระราชดำรัส “การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมือง ไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย” ในส่วนของฝายพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ว่า “ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูก และหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็กๆ เป็นระยะๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้เกิดความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ”






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.