อำเภอลับแล ร่วมกับ สสอ.ลับแลและท้องถิ่น จัดตั้งชุมชนต้นแบบป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่
24 พ.ย. 2565, 09:13

ผู้สื่อข่าวONB News รายงานว่า นายปรัชญา เสริฐลือชา นายอำเภอลับแล นายสมัคร ทุลา สาธารณสุขอำเภอลับแล พร้อมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตร่วมกับท้องถิ่นและ อสม.ในพื้นที่จัดตั้งชุมชนต้นแบบตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ แก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จของประชาชนที่เกินเกณฑ์มาอย่างต่อเนื่องโดยข้อมูลในปี 2560 - 2564 มีอัตรา 18.64 23.05 14.49 และ 16.18 ต่อประชากรแสนคน เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลการสอบสวนทางระบาดวิทยาผู้นำตัวตายสำเร็จ พบว่าเพศชายมากกว่าเพศหญิงปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ โรคประจำตัว ร้อยละ 49.3 โรคเบาหวาน 50.7 โรคความดันโลหิตสูง 26.7 ถูกตำหนิ ติเตียน ต่อว่าร้อยละ 40.0 ถูกด่าด้วยคำหยาบคาย เหยียดหยาม ร้อยละ 20.0 ปัจจัยเสี่ยง ด้านเศรษฐกิจคือรายได้ไม่พอในเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงิน ปัญหาที่มาจากหนี้สิน ประเมินปัญหาการใช้สุราและสารเสพติด พบมีการดื่มสุรา ร้อยละ 49.3 บุหรี่ ร้อยละ 12.0 ยากล่อมประสาท ร้อยละ 10.7กัญชา ร้อยละ 8.3 จากสถานการณ์การแพร่ระบาตโรคโควิด 19 อำเภอลับแล พบผู้ติดเชื้อสะสม 13,419 รายไม่มีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต้องทำงานหนักมากกว่าเดิม เกิดภาวะเหนื่อยล้า หมดไฟ ภาวะเครียดผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยงถูกกักตัว และมีการ "ล็อคดาวน์" ประชาชนประสบปัญหาการหยุดงาน ตกงาน ว่างงานจึงเกิดความเครียด อึดอัดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป อีกทั้ง "ตื่นตระหนก" "ตื่นกลัว" "ตื่นข่าว" ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน หากไม่สามารปรับตัวได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นและหากไม่สามารถจัดการปัญหาต่ำงๆได้ก็จะนำมาสู่การเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการดูแลช่วยเหลือเพื่อเป็นลดความเสี่ยงป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตระยะยาว เพื่อสร้างสังคมที่เป็นสุขให้กลับคืนสู่ภาวะปกติให้ประชาซนได้ใช้ชีวิตปกติภายใต้สถานการณ์ วิถีชีวิต " New Norma" โดยส่งเสริมการสร้างวัคซีนใจในระดับบุคลคลระดับครอบครัว และระดับชุมชน ถือเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ภายใต้แนวคิด "เครือข่ายสุขภาพจิตดีวิถีลับแล"