เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สำนักฯ 3 (บ้านโป่ง) ร่วมกับ IUCN และสมาคมผู้พิทักษ์ป่า จัดฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างประสิทธิภาพการลาดตระเวน


17 ธ.ค. 2565, 05:03



สำนักฯ 3 (บ้านโป่ง) ร่วมกับ IUCN และสมาคมผู้พิทักษ์ป่า จัดฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างประสิทธิภาพการลาดตระเวน




วันนี้ 16 ธ.ค.65 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และสมาคมผู้พิทักษ์ป่า (Thai Ranger Association) ได้จัดการฝึกอบรมตาม “โครงการฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างประสิทธิภาพการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๓ (บ้านโป่ง)” ขึ้น จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 40 คน

โดยรุ่นที่ 3 นายอนันต์ โพธิ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)     ได้มอบหมายให้ นายมานะ เพิ่มพูล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)  เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม โดยมีนายศุภกิจ  วินิตพรสวรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหัวหน้าอุทยานแห่งชาติในพื้นที่เข้าร่วม โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรครูฝึกจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในครั้งนี้นายศุภกิจ  วินิตพรสวรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อการจัดการและป้องกันพื้นที่อนุรักษ์”

สำหรับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) มีหน่วยงานที่มีการใช้ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพในการปฏิบัติงาน จำนวน 13 หน่วยงาน ประกอบด้วยหน่วยงานในสังกัดส่วนอุทยานแห่งชาติ จำนวน 9 หน่วยงาน และหน่วยงานในสังกัดส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 4 หน่วยงาน โดยมีศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) คอยติดตามให้คำปรึกษา เพื่อให้การปฏิบัติงานป้องกันรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายในการฝึกฝนให้เจ้าหน้าที่ได้มีระเบียบวินัย และภาวะความเป็นผู้นำ การฝึกฝนการปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วยการใช้อุปกรณ์ในงานลาดตระเวน และเทคนิคการลาดตระเวนให้กับเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนให้นำไปปฏิบัติงานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้อย่างมีสิทธิ์ประสิทธิภาพ ซึ่งมีกำหนดจัดฝึกอบรม ที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 40 คน รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 10-17 พ.ย.65 รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-30 พ.ย.65 และรุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 15-22 ธ.ค.65 และครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 3

 งานป้องกันรักษาพื้นที่ป่านุรักษ์ มุ่งเน้นเพื่อรักษาพื้นที่ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าที่นับวันจะเหลือลดน้อยลง เนื่องจากความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ตามจำนวนประชากรที่มีความต้องการอย่างไม่จำกัด จึงทำให้มีการบุกรุกพื้น ทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนป่าไม้ลดลงและสัตว์ป่าถูกล่ามากขึ้น ในปัจจุบันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมีรูปแบบที่หลากหลาย และผู้กระทำผิดมีการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมใช้ในการกระทำผิด ซึ่งในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาและป้องกันพื้นที่ทำได้เพียงเดินลาดตระเวนตรวจตราในพื้นที่ และผลักดันผู้ที่เข้ามากระทำผิดให้ออกจากพื้นที่อนุรักษ์ด้วยกำลังพลและเครื่องมืออุปกรณ์มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่

จากปัญหาที่เกิดขึ้นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้นำระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ป่านุรักษ์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการบริหารจัดกาพื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถวางแผนป้องกันการกระทำผิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้ ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพจึงได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องรูปแบบการเก็บข้อมูลและโปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสะดวกในการใช้งาน

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปฏิรูประบบลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ให้อยู่ภายใต้ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) โดยให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ จำนวน ๒๓๒ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ จำนวน ๑๕๒ แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน ๖๒ แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า จำนวน ๑๘ แห่ง รวม ๑,๒๐๓ ชุดลาดตระเวน ให้มีการลาดตระเวนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ทั้งนี้ ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพถูกบรรจุไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้นำระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) มาใช้ในการหยุดยั้งและป้องกันรักษาพื้นที่ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าโดยเนื้อแท้ของงานลาดตระเวนป่า คือการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า ต้นไม้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการทำงานในพื้นที่อนุรักษ์ แต่วันนี้วิทยาการของโลกก้าวหน้าไปมาก การต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรป่าไม้จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและพัฒนากลไกการลาดตระเวนขึ้นใหม่ เรียกว่า ‘ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ’ ที่มีการคำนึงถึงคุณภาพในหลายมิติ” ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพเจ้าหน้าที่ คุณภาพอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพข้อมูลและองค์ความรู้ที่จะนำไปวางแผนและต่อยอดงานลาดตระเวน ต่อไป

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้ตระหนักถึงถึงปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาระบบลาดตระเวนในพื้นที่อนุรักษ์ให้มีความเข้มแข็งและตรวจวัดได้ โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาระบบลาดตระเวนให้ได้มาตรฐาน และที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่อนุรักษ์ จนถึงระดับเจ้าที่ที่ทำหน้าที่ลาดตระเวน ให้มีศักยภาพ ตื่นตัว มีขวัญและกำลังใจที่ปฏิบัติหน้าที่ให้สมภาคภูมิในฐานะเป็น “ผู้พิทักษ์ป่า” ที่เฝ้ารักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนสู่ชนรุ่นหลังอย่างแท้จริง

 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.