เลขาธิการ กพฐ. เปิดโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย "ถิ่นวีรชนคนกล้า แหล่งรวมศรัทธาความดี ศรีรัตนโกสินทร์"
31 ม.ค. 2566, 05:42
วันนี้ 30 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่ศาลาร่วมใจ 49 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรม การการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย "ถิ่นวีรชนคนกล้า แหล่งรวมศรัทธาความดี ศรีรัตนโกสินทร์" โดยมีว่า ที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี กล่าวรายงานวัตถุประ สงค์ พร้อมด้วย พ.อ.(พิเศษ) วันชนะ สวัสดี เสนาธิการผู้บัญชาการทหารสูงสุดและนักแสดงไทบ
นอกจากนี้ยังมี พลเอก ดร.ชินวัฒน์ แม้นเดช นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกาญจนบุรีและที่ปรึกษาประธานเครือข่ายส่งเสริมการเรียนการสอนมัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี นายวิชาญ มีสม หรือ"จอห์น บราโว่" นักแสดง ตลอดจน นายหงษ์ดี ศรีเสน ประธานเครือข่ายส่งเสริมการเรียนการสอนมัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีและ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนวิสุทธรังษี ดร.ณรินทร์ ชำนาญดู ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ดร.สมพงษ์ เตชรัตนวรกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพมงคลรังษี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 - 4 คณะผู้บริหารการศึกษา คณะผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ร่วมพิธีฯ
ว่าที่ร้อยเอก พรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการ สพม. กาญจนบุรี กล่าว่า ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น "ถิ่นวีรชนคนกล้า แหล่งรวมศรัทธาความดีศรี รัตนโกสินทร์" โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นัก เรียนได้เรียนรู้ถึงความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นการปลูกฝังให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณ ลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้มีความรักในความเป็นไทย เป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต
โอกาสนี้ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช เลขาธิการคณะกรรม การการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทยสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และบูรณาการแหล่งเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและการต่อยอดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learn ing) ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์อีกทั้งการเรียนรู้ประ วัติศาสตร์ยังเป็นการปลูกฝังให้เป็นคนดีมีคุณ ธรรมเรียนรู้อดีตเข้าใจปัจจุบัน พัฒนาต่อยอดในอนาคต สู่การพัฒนาประเทศการเรียนรู้ประ วัติศาสตร์นั้นจะต้องเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายและสร้างคุณค่าให้เกิดกับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต