เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ราชกิจจาฯ ประกาศ! กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส. 400 คน ทั่วประเทศ


1 ก.พ. 2566, 09:43



ราชกิจจาฯ ประกาศ! กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวน ส.ส. 400 คน ทั่วประเทศ




วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)สำคัญสองฉบับที่เป็นกลไกไปสู่การจัดเลือกตั้ง

ประกาศฉบับแรกคือ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อปี 2564 ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนส.ส.เขต จากเดิม 350 เขต เป็น 400 เขต ทำให้จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดไว้เดิมในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้องมีการออกประกาศฉบับนี้

ประกาศดังกล่าวระบุถึง จำนวนราษฎรหรือประชาชนโดยเฉลี่ย 165,226 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน และมีการแจ้งถึงจำนวนส.ส.และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดเช่น พื้นที่ซึ่งมี ประชากรเยอะสุดและมีเขตเลือกตั้งมากสุดคือ กรุงเทพมหานคร มีประชากร 5,494,932 มีส.ส.เขตรวม 33 คน ตามด้วย นครราชสีมา ประชากร 2,630,058 มีส.ส.ได้16 คน เป็นต้น



ส่วนประกาศฉบับที่สอง คือ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2566

ที่มีสาระสำคัญคือการให้ ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด จัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งภายในสามวัน โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกันแล้วประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อยสามรูปแบบเพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดเป็นเวลาสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ เป็นต้น

โดยประกาศดังกล่าว ให้รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ต้องประกอบด้วย

(๑) รายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือตำบล หรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขต

(๒) จำนวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัดนั้น ทั้งนี้ ผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งไม่ควรเกินร้อยละสิบของจำนวนเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน ในจังหวัดนั้น เว้นแต่เป็นกรณีมีความจำเป็นเพื่อให้ราษฎรในชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันสามารถเดินทางได้โดยสะดวก

(๔) แผนที่แสดงรายละเอียดของพื้นที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตเลือกตั้ง

โดยรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ต้องมีอย่างน้อยสามรูปแบบ ให้ไปปิดไว้ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการอบต. และให้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชนิดต่างๆ ด้วย โดยรายละเอียดของประกาศทั้งสองฉบับมีดังนี้







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.