เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



อบจ.โคราช เตรียมพร้อม รพ.สต. ในสังกัดฯ จับมือราชภัฏโคราชดันโควตา นร.อบจ. เข้าคณะพยาบาล-สาธารณสุข


9 ก.พ. 2566, 08:15



อบจ.โคราช เตรียมพร้อม รพ.สต. ในสังกัดฯ จับมือราชภัฏโคราชดันโควตา นร.อบจ. เข้าคณะพยาบาล-สาธารณสุข




อบจ.โคราช ลุยสร้างพันธมิตรด้านการศึกษา ล่าสุด ลงนาม “MOU” ม.ราชภัฏโคราช  ผลักดันโควตา นักเรียนสังกัด อบจ. เรียนต่อ คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตด้านพยาบาลและสาธารณสุขคุณภาพ ส่งต่อ รพ.สต.ในสังกัด อบจ. เพื่อกลับมารับใช้บ้านเกิดในระบบปฐมภูมิให้กับท้องถิ่น  เพราะนั่นคือ “การพัฒนาพื้นที่อย่างแท้จริง”



วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นางยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา และ รศ.ดร.อดิศร  เนาวนนท์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยคณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการสนับสนุนการผลิตและพัฒนาบุคลากรในภารกิจด้านสาธารณสุข  เพื่อตอบสนองความต้องการระบบสุขภาพภายใต้ความร่วมมือของสององค์กร โดยเน้นสนับสนุนโควตาให้นักเรียนสังกัด อบจ. เข้าศึกษาต่อในคณะพยาบาลศาสตร์และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ของ มรภ.นม. นอกจากนี้ในส่วนของ อบจ. ที่มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ในสังกัด 182 แห่งนั้น ทาง อบจ. ก็จะให้การสนับสนุนด้านสถานที่ฝึกปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาของทางมหาวิทยาลัย ที่กำลังจะจบหลักสูตร สามารถเข้ารับการฝึกประสบการณ์ ณ รพ.สต. ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้มีกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานร่วมกัน 4 ปี


นางยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา กล่าวว่า “อบจ. มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 58 แห่ง และล่าสุดรับถ่ายโอน รพ.สต. มาอยู่ในสังกัดอีกจำนวน 182 แห่ง จึงมีแนวคิดที่จะสร้างโมเดลทั้งด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขให้สอดคล้องกับนโยบายของนายกเพื่อพัฒนาในทุกมิติไปพร้อมกัน รวมถึงการทำ MOU ในครั้งนี้ก็เช่นกัน  อบจ.ต้องการที่จะผลักดันนักเรียนในสังกัดฯ ให้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะด้านพยาบาลศาสตร์ และ สาธารณสุขศาสตร์ ซึ่ง 2 สาขานี้ยังขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะ รพ.สต. ที่ย้ายมาสังกัดฯ ยังคงต้องการบุคลากรอีกเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น หากทาง มรภ.นม. และ อบจ. มีการศึกษาแนวทางร่วมกันในการสนับสนุนให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อในรูปแบบโควตา ตามจำนวนและเกณฑ์ของการรับโควตาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด  มั่นใจว่าจะสามารถป้อนบุคลากรคุณภาพกลับมาพัฒนาชุมชน ยิ่งไปกว่านั้น อบจ.พร้อมสนับสนุนงบประมาณทั้งในส่วนของงบสนับสนุนนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น และงบสำรองเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเข้าเรียนในสาขาวิชาที่จำเป็นสอดคล้องกับบริบทของ อบจ. ที่สำคัญ เด็กจะได้กลับไปพัฒนาและรับใช้ชุมชนบ้านเกิด เพราะนั่นคือ “การพัฒนาคนในพื้นที่อย่างแท้จริง”






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.