เปิด ร่าง พ.ร.ก.ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รับจ้างเปิดบัญชีม้า คุก 3 ปี
14 ก.พ. 2566, 16:41
วันนี้ ( 14 ก.พ.66 ) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 14 ก.พ. 66 ได้รับทราบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกับเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย (เนื้อหาเหมือนกับบันทึกความเข้าใจฯ) และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลบังคับของบันทึกความเข้าใจฯ ต่อไป
สำหรับบันทึกความเข้าใจฯ นี้เกิดขึ้นจากที่คณะผู้แทนไทยและซาอุดีอาระเบีย ได้มีการประชุมเจราจาเพื่อปรับปรุงสิทธิการบินระหว่างกัน เมื่อเดือน ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมาคณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศได้มีมิตรับทราบผลการเจรจาดังกล่าว โดยบันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อ 2 ฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตระหว่างกัน
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า บันทึกวามเข้าใจฯ และหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต มีเนื้อหาครอบคลุม ประเด็นพิกัดเส้นทางการบินระหว่าง 2 ฝ่าย จากแบบกำหนดจุดเป็นพิกัดเส้นทางบินแบบเปิด, ความจุ ความถี่ กำหนดเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร จากเดิมฝ่ายละ 9 เที่ยวบิน/สัปดาห์ เฉพาะเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร เป็น ฝ่ายละไม่เกิน 42 เที่ยวบิน/สัปดาห์สำหรับเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร และไม่จำกัดจำนวนเที่ยวสำหรับเที่ยวบินขนส่งสินค้า, การทำการบินเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งสายการบินของทั้งสองฝ่ายจะทำการขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่เดินอากาศ โดยต้องไม่กระทบต่อการทำการบินแบบประจำ
นอกจากนี้ บันทึกความเข้าใจฯ ยังครอบคลุมถึงกรณีทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code-Sharing)โดยสายการบินที่ทั้ง2ฝ่ายกำหนด จะมีสิทธิทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินของประเทศคู่ภาคีทั้งสิ้นทางระหว่างประเทศและเส้นทางภายในประเทศ รวมถึงสามารถใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินประเทศเดียวกันและร่วมกันกับสายการบินของประเทศที่สาม, การใช้อากาศยานเช่า โดยสายการบินของแต่ละฝ่ายอาจเช่าอากาศยาน [หรืออากาศยานพร้อมลูกเรือ(wet lease)] จากบริษัทหรือสายการบินใดๆ เพื่อทำการบินได้,การกำหนดสายการบิน ที่ทั้งสองฝ่ายสามารถแต่งตั้งสายการบินที่กำหนดได้หลายสาย
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเจรจาเพื่อปรับปรุงสิทธิการบินระหว่าง 2 ประเทศ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การทำการบินของสายการบินทั้ง 2 ฝ่าย มีความคล่องตัว เพิ่มความยืดหยุ่นในการวางแผนการตลาดให้การบริการเกิดความคุ้มทุนมากขึ้น ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกแก่ผู้โดยสารด้วย นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจการขนส่งสินค้า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การค้าและการบริการระหว่าง 2ประเทศให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ และยังเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งระดับรัฐบาลและระดับธุรกิจของ 2 ประเทศด้วย