เมืองคอน จัดกิจกรรม "มหกรรมดนตรีหนังตะลุง” ในงานเทศกาลเดือนสิบ ประจำปี 2562
1 ต.ค. 2562, 13:36
วันที่ 1 ต.ค. 62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า จากการที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 จังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะรองประธานกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานการท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม "มหกรรมดนตรีหนังตะลุง” ครั้งที่ 1 ในการจัดงานนิทรรศการหุ่นเปรต พาเหรดเปรตและลานตะเกียงเคียงดิน เทศกาลบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปี 2562 ณ สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ในระหว่างเวลา 17.00-21.00 น.วันที่ 30 ก.ย. 2562 ซึ่งถือเป็นการรวมตัวกันของดนตรีหนังตะลุงบนเวทีเดียวกันมากที่สุดในโลกรวม 60 ชิ้น
เมื่อคืนที่ผ่านมา ( 30 ก.ย.) นายวินัย รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดง “หกรรมดนตรีหนังตะลุง” ครั้งที่ 1 โดยมีนายสมพงษ์ มากมณี ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช ผศ.รศ.รงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ จ.นครศรีธรรมราช รองประธานกรรมาธิการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รศ.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายยุทธนา แต่งวงศ์ นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวีดนครศรีธรรมราช และหัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งภาคเอกชน ประชาชนนับพันคนเข้าร่วมในพิธีเปิดและชมการแสดงมหกรรมดนตรีหนังตะลุงในครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง
ขณะที่นักดนตรีหนังตะลุงจำนวน 60 คน ประกอบไปด้วยนักดนตรีหนังตะลุงทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา จนไปถึงนักดนตรีรุ่นคุณตา คุณปู่ อายุระหว่าง 15-82 ปี พร้อมด้วยหนังตะลุง 9 คน ซึ่งแต่งกายด้วยชุดไทย สวมเสื้อพระราชทานแขนยาวสีขาว นุ่งโจงกระเบน ได้เดินทางมารายงานตัวเพื่อเล่นดนตรีหนังตะลุง 5 ชิ้น หรือที่เรียกว่า “เครื่องห้า” ประกอบด้วย ทับ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และปี่หนังตะลุง โดยเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะนำมาชนิดละ 10-12 ชิ้น โดยกำหนดจังหวะหรือเพลงที่จะแสดงจำนวน 11 จังหวะ/เพลง โดยในจำนวนนี้นายหนังตะลุงจะเชิดรูปหนังตะลุงประกอบหนังจำนวน 9 จังหวะ/บทเพลง และไม่มีการเชิดรูปหนังตะลุง 2 จังหวะ/บทเพลง ส่วนจังหะ/บทเพลงที่ไม่มีการเชิดรูปหนังตะลุงประกอบจำนวน 2 จังหวะ/บทเพลง ประกอบด้วย เพลงโหมโรงและเพลงลา
ซึ่งก่อนการแสดงมหกรรมดนตรีหนังตะลุง ได้มีการเสวนา เรื่อง "ศาสตร์และศิลป์การคงอยู่ของดนตรีหนังตะลุง” โดยมีผู้ร่มเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.งรค์ บุญสวยขวัญ รศ.สืบพงศ์ ธรรมชาติ นายวีระ งามขำ นายกสามาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช นายไพฑูรย์ อินทศิลา สื่อมวลชนอาวุโสและอุปนายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายจรัญ อินทมุสิก ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ หลังจากนั้นในเวลา 19.00 น. มีการจัดแสดงมินิไลท์แอนด์เสวนา ต่อด้วยการเริ่มตั้งแสดงมหกรรมดนตรีหนังตะลุง เริ่มจากการแนะเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น รวมทั้งจังหวะหรือเพลงที่จะใช้ในการแสดง
ซึ่งจังหวะ/บทเพลงแรก คือ โหมโรง ต่อด้วยจังหวะ/เพลงเชิดฤาษี จังหวะ/เชิดพระอิศวร จังหวะ/บทเพลงปรายหน้าบท, จังหวะ/บทเพลงบอกเรื่อง, จังหวะ/บทเพลงเพลงตั้งเมือง, จังหวะ/บทเพลง เพลงสมห้อง, จังหวะ/บทเพลงเพลงยักษ์, จังหวะ/บทเพลงเพลงฤาษีนกเค็ด และจังหวะ/บทเพลงเพลงนางเดินดง พร้อมแนะนำคณะนายหนังชั้นบรมครูจำนวน 10 คน ที่รับหน้าที่เชิดรูปหนังประกอบเพื่อเพิ่มสีสันและอรรถของดนตรีหนังตะลุง ประกอบด้วย หนังชวน สวนศิลป์ เชิดจังหวะ/บทเพลงฤาษี, หนังสามารถ ศ.เคล้าน้อย เชิดจังหวะเพลงเชิดพระอิศวร, หนังวีระ ลูกทุ่งบันเทิง เชิดจังหวะเพลงปรายหน้าบท, หนังสมปองสวนศิลป์ เชิดจังหวะเพลงบอกเรื่อง, หนังสถิต ปรีชาศิลป์ เชิดจังหวะเพลงตั้งเมือง, หนังวรพจน์ เธียรทอง เชิดจังหวะเพลงสมห้อง, หนังเอิบน้อย ยอดขุนพลเชิดจังหวะเพลงยักษ์, หนังสุเทพ ศ.ทวีศิลป์ เชิดจงหวะ เพลงฤาษีนกเค็ด, และหนังถวิล อ้ายลูกหมี เชิดจังหวะเพลงนางเดินดง หลังจากนั้นจึงเป็นการแสดงดนตรีหนังตะลุงทั้ง 11 เพลง ต่อด้วยการแสดงโชว์ดนตรีหนังตะลุงในเพลงไทยยอดนิยมจำนวน 3 เพลงต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยเพลงเดือนเพ็ญ เพลงปักษ์ใต้บ้านเรา และเพลงเสียงสะท้อนจากนครศรีธรรมราช เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าดนตรีหนังตะลุงสามารถนำมาบรรเลงในบทเพลงยอดนิยมได้เหมือนกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ก่อนจะจบลงด้วยเพลงลาโรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการแสดงมหกรรมดนตรีหนังตะลุง ได้รับความสนใจและประทับใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก หลังจากเสร็จสิ้นการแสดงมหกรรมดนตรีหนังตะลุง ได้มีนักท่องเที่ยวประประชาขนจำนวนมากแห่ขอถ่ายภาพคู่กับนักดนตรีและนายหนังเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกกันจำนวนมาก โดยต่างเรียกร้องให้มีการจัดการแสดงดนตรีหนังตะลุงในลักษณะนี้ตามงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องรวมทั้งนำดนตรีหนังตะลุงมาแสดงโชว์ในการต้อนรับคณะนักท่องเที่ยว บุคคลสำคัญที่เดินทางมาเยือนจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ดนตรีหนังตะลุงให้เป็นที่รู้จักและได้รับคามนิยมเพิ่มมากขึ้น
รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ กล่าวว่า แม้ว่าการจัดแสดงมหกรรมดนตรีหนังตะลุงในครั้งนี้จะมีปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องจากเป็นการจัดครั้งแรก แต่โดยภาพรวมถือว่าเป็นการถ่ายทอดดนตรีหนังตะลุงออกมาได้ค่อนข้างดี มีความไพเราะและเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ ตนมีเป้าหมายที่จะเสนอให้ดนตรีหนังตะลุงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของปักษ์ใต้ พร้อมจัดตั้งเป็นมูลนิธิดนตรีหนังตะลุง พร้อมจัดหางบประมาณมาสนับสนุนเพื่อจัดกิจกรรมมหกรรมดนตรีหนังตะลุงในโอกาสต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และในการเปิดอาคารสภาผู้แทนราษฏรแห่งใหม่ปลายปี 2562 หรือต้นปี 2563 ตนจะเสนอนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏรและประธานรัฐสภา ให้นำดนตรีหนังตะลุงมาแสดงโชว์ที่สภา ฯ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองสภา ฯ แห่งใหม่ นอกนี้ตนจะหาช่องทางในการนำดนตรีหนังตะลุงไปโชว์ในเวทีนานาชาติในต่างประเทศต่อไป และเชื่อว่าดนตรีหนังตะลุงจะได้รับความสนใจและความนิยมไม่แพ้ดนตรีสากลหรือดนตรีชนิดอื่น ๆ อย่างแน่นอน