สิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 โคราช ติดตามการแก้ไข โรงงานแป้งมันสำปะหลัง ปล่อยน้ำเสีย อากาศเป็นพิษ หลังสั่งระงับกิจการ นานกว่า 1 ปี
30 มี.ค. 2566, 10:44
วันที่ 30 มีนาคม 2566 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 11 อุตสาหกรรมจังหวัด พร้อมคณะจากหลายหน่วยงาน ได้เข้าตรวจสอบและติดตามข้อร้องเรียนจากประชาชน ว่ามีน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ใน อ.ด่านขุนทด ไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และมีกลิ่นเหม็นรุนแรงจากบ่อพักน้ำเสีย จนกระทั่งมีการสั่งระงับกิจการชั่วคราว จนกว่าจะแก้ไขเป็นปกติ ตามกฎหมาย
นายโกวิท ลาภจิตร ผู้จัดการโรงงาน บริษัทเชาว์ดี โมดิฟาย สตาร์ชจำกัด เผยว่า โรงงานได้แก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นกลิ่นที่สร้างผลกระทบ ซึ่งกลิ่นได้ลดลงจนเป็นภาวะปกติ โดยได้รับการยืนยันจากชุมชนว่าไม่มีผลกระทบแล้ว เมื่อเจ้าหน้าที่พบปะกับชุมชน จะส่งผลในการแก้ไขปัญหาระยะยาวเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะเปิดดำเนินการอีกครั้งหนึ่งกลางปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมเรื่องของการออกแบบ ดีไซน์ ทำให้ระบบกลับมาเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางโรงงานได้ให้ผู้เชียวชาญจากต่างประเทศ และผู้เชียวชาญจากประเทศไทย เพราะเรามีวิศวกรและผู้ออกแบบที่มีคุณภาพ ซึ่งมีการทำงานประสานงานทั้งต่างประเทศและในประเทศ ทำให้มีความเชื่อมั่นว่าจะแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาวได้อย่างแน่นอน โดยหลักการในการตีอากาศให้ออกซิเจนในการบำบัดน้ำเสีย เบื้องต้นทางโรงงานได้มีการใช้เครื่องมือวัดใช้อุปกรณ์ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ มีการตรวจวัดถึง 4 ครั้ง พบว่าข้อมูลที่ได้ไม่มีการอันตรายหลงเหลืออยู่ ในส่วนของการประสานงานระหว่างโรงงานที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อออกแบบในการบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะต้องมีความคิดเห็นร่วมกันในการที่จะแก้ไขปัญหา
นายบัญชา ขุนสูงเนิน ผู้อำนวยการส่วนตรวจและบังคับใช้กฎหมาย สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 นครราชสีมา เผยว่า บริษัทได้มีการนำเสนอการปรับปรุงแก้ไขผลผลิตจากน้ำเสียซึ่งจะมีกำหนดเปิดกิจการในเดือนมิถุนายน ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมควบคุมมลพิษ จะมีการติดตามเฝ้าระวัง ผลกระทบจากก๊าซอันตราย หลังจากเปิดกิจการ ในเบื้องต้นจะมีการตรวจสอบจากหน่วยงานอุตสาหกรรม ว่าน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัด จะมีสารอันตรายหรือผ่านมาตรฐานหรือไม่ ที่ผ่านมาสำนักงานสิ่งแวดล้อมได้มีการประสานกับผู้ที่เดือดร้อนโดยตรง โดยจะได้รับข้อมูลรายวัน ว่าได้รับผลกระทบด้านอะไรบ้าง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องกลิ่นมีการได้รับผลกระทบน้อยลงเป็นอย่างมาก หากเทียบกับอดีตจะมีกลิ่นเหม็นติดต่อกันหลายวัน สืบเนื่องจากตัวน้ำเสียที่ตกค้างอยู่ยังไม่ได้มีการบำบัด ทางโรงงานได้ชี้แจงว่าจะมีการบำบัดหลังจากบ่อบำบัดน้ำเสียใหม่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ต่อเนื่องไปประมาณ 6-10 เดือน ขอชี้แจงว่าอำนาจในการเปิดโรงงานนั้นขึ้นอยู่กับ 2 หน่วยงานคืออบต. หินดาดและทางอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ที่ผ่านมาทางโรงงานได้มีการจัดทำ csr พูดคุยแลกเปลี่ยนนำเสนอการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านได้รับทราบ
ด้าน นายสุวิช คมพยัคฆ์ นายกอบต.หินดาด เผยว่า ในส่วนประเด็นเรื่องของกลิ่นทางโรงงาน ได้ให้หยุดประกอบกิจการบางส่วน ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน ครบ 1 ปีพอดี โดยทางอบต.ได้มีการเข้าไปติดตามการทำงานและแก้ไขปัญหา ตามข้อตกลงจนจะเป็นปกติแล้ว ซึ่งทางอบต.จะออกตรวจทุกสัปดาห์ และรับฟังปัญหาจากชาวบ้าน เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาระยะยาว หากพบว่าชุดใดที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจะทำหนังสือแจ้งโรงงานทันที ที่ผ่านมาทางโรงงานก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาในระยะยาว