เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กรมชลฯ สั่งชลประทานทั่วประเทศ รับมือฤดูฝนปี 2566


27 พ.ค. 2566, 15:06



กรมชลฯ สั่งชลประทานทั่วประเทศ รับมือฤดูฝนปี 2566




นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 41,438  ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯรวมกัน สามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีก 34,899 ล้าน ลบ.ม.  เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 12,191 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯรวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 12,680 ล้าน ลบ.ม.



ทั้งนี้ ตามประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติฉบับที่ 4/2566 ลงวันที่ 23 พ.ค. 2566 เรื่อง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนตกเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 27 พ.ค.-1 มิ.ย. 66 ในพื้นที่ 21 จังหวัด ทุกภูมิภาคนั้น ได้กำชับให้สำนักงานชลประทานในพื้นที่เสี่ยงดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) มาปรับเป็น 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน ประกอบด้วย 


1.กักเก็บเต็มประสิทธิภาพ 2.คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง 3. หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง 4.ระบบชลประทานเร่งระบาย  5.เตรียมพร้อมเครื่องมือเครื่องจักร และ 6. แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์    รวมถึงการเตรียมรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น พร้อมวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำท่า และกำหนดผู้รับผิดชอบพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน จัดสรรทรัพยากร เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และอื่นๆ เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ตลอดเวลา  ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนถึงสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง  เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.