"บริษัทไทยเคนเปเปอร์" จัดกิจกรรมบวชป่า สร้างฝายชะลอน้ำ รักษ์ ภูผามหานที เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ
31 พ.ค. 2566, 11:24
วันนี้ 31 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายฑรัท เหลืองสะอาด นายอำเภอท่าม่วง เป็นประธานเปิดกิจกรรมบวชป่าและสร้างฝายชะลอน้ำ ณ.บริเวณป่าชุมชนบ้านสระเศรษฐี ตำบลบ้านใหม่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยพระครูฉลวย เทวสโร เจ้าอาวาสวัสระเศรษฐีปรีชาราฎร์,นายกิตติพันธ์ สุนทรธำรงสิน ผู้จัดการบริษัทไทยเคนเปเปอร์ ,นายสรายุธ จีนาภักดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบ้านใหม่, นายสมชาติ จีนาภักดิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ต.บ้านใหม่ ,นายเนตร์ กัญยะมาสา อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ,นางจินตนา ดาบธรรม กรรมการผู้จัดการบริษัทศิลาสมบูรณ์ทรัพย์ จำกัด คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านสระเศรษฐี,กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกาญจนบุรี,เจ้าหน้าที่สถานีตำรวจภูธรสำรอง คณะครูโรงเรียนบ้านสระเศรษฐี,ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านสระเศรษฐี,พนักงาน เจ้าหน้าที่ จิตอาสา และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม โดยตั้งแต่ช่วงเช้าพระภิกษ์สงฆ์ได้ทำพิธีบวชป่าสระเศรษฐี จำนวน 600 ต้น
สำหรับการดูแลป่าให้สมบูรณ์นี้ถือว่าเป็นหัวใจของสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญและเกี่ยวโยงกับทรัพยากร ดิน น้ำ อากาศ สัตว์ป่า ทำให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ บำรุงฟื้นฟูป่าไม้ เกิดร่มเงาในการพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้เกิดความร่มรื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
จากนั้น นายฑรัท เหลืองสะอาด นายอำเภอท่าม่วง ,นายกิตติพันธ์ สุนทรธำรงสิน ผู้จัดการบริษัทไทยเคนเปเปอร์ ,นายสรายุธ จีนาภักดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบ้านใหม่พร้อมด้วยผุ้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันแบ่งกลุ่มย่อยจำนวน10 กลุ่มเพื่อแยกย้ายกันไปออกไปสร้างฝายชะลอน้ำรักษ์ภูผามหานที จำนวน 20 ฝายรอบป่าชุมชนบ้านสระเศรษฐี สำหรับการสร้างฝายชะลอน้ำเป็นการบริหารจัดการน้ำจากธรรมชาติที่ทำให้พื้นที่ของเรามีน้ำใช้และให้ประโยชน์ได้มากที่สุด
ฝายมีหลายประเภท ได้แก่ ฝายถาวร ฝายชั่วคราว และฝายกึ่งถาวรฝายถาวร เป็นฝายคอนกรีตมีความทนทาน แต่ใช้ต้นทุนและแรงงานในการก่อสร้างสูงฝายชั่วคราว สร้างจากวัสดุธรรมชาติ สภาพไม่คงทน ไม่เหมาะกับการใช้งานในระยะยาวฝายกึ่งถาวร ผสมผสานระหว่างวัสดุตามธรรมชาติร่วมกับวัสดุก่อสร้าง ทำให้มีความคงทนและสามารถทำเองได้ไม่ยาก เหมาะกับพื้นที่ต้นน้ำที่มีทางน้ำไหลคดเคี้ยวตามธรรมชาติ และพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง การทำฝายกึ่งถาวร สร้างด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในบริเวณนั้น ได้แก่ ไผ่ ท่อนไม้ กิ่งไม้ และก้อนหิน โดยใช้หินเป็นวัสดุหลักในการเสริมสร้างความแข็งแรงทนทาน โดยประโยชน์ของการสร้างฝายเพื่อชะลอความเร็วของน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งดักตะกอนหน้าดินที่ไหลลงมาจากต้นน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นต้น