เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ชป.วางแผนบริหารจัดการน้ำ เตรียม 12 มาตรการรับเอลนีโญ ฝนทิ้งช่วง-ภัยแล้ง


14 มิ.ย. 2566, 14:11



ชป.วางแผนบริหารจัดการน้ำ เตรียม 12 มาตรการรับเอลนีโญ ฝนทิ้งช่วง-ภัยแล้ง




วันนี้ ( 14 มิ.ย.66 ) นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงภาพรวมปริมาณน้ำในปัจจุบันทั้งเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีทั้งหมด 470 แห่ง มีปริมาณน้ำ39,780 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณน้อยกว่า 2,700 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ช่วงเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคมฝนนี้ จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขณะที่เดือนสิงหาคมและกันยายนจะมีฝนตกชุก ประกอบกับมีพายุหมุนเขตร้อนพัดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูก

กรมชลประทาน วางแผนบริหารจัดการน้ำ ตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 โดยคาดการณ์พื้นที่เป้าหมาย-พื้นที่เสี่ยง บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ทบทวนเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบชลประทาน จนถึงกระบวนการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

ขณะเดียวกันช่วงสิ้นสุดการบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา ได้สำรองน้ำ 2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมวางมาตรการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค- บริโภค การเกษตร การรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ท้องถิ่น-ท้องที่ที่มีแหล่งน้ำ กักเก็บน้ำให้มากที่สุด รองรับปรากฎการณ์เอลนีโญ ยืนยันว่าแม้จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในปีนี้มีน้ำอุปโภค-บริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี

รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ส่วนในบางพื้นที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง กรมชลประทาน บูรณาการความร่วมมือกับจังหวัด บริหารจัดการน้ำตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งแจ้งไปยังโครงการชลประทาน ขอความร่วมมือเกษตรกรปรับเปลี่ยนแผนการเพาะปลูกทำนาปี สำหรับแผนการเพาะปลูกทำนาปีทั่วประเทศมีประมาณ 16 ล้านไร่ ขณะนี้ได้เพาะปลูกไปแล้ว 6 ล้านไร่ หรือร้อยละ 35 ส่วนของพื้นที่ลุ่มต่ำ-ลุ่มเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีแผนเพาะปลูก 8 ล้านไร่ ได้เพาะปลูกไปแล้วกว่า 4 ล้านไร่ประทาน เปิดเผยถึงภาพรวมปริมาณน้ำในปัจจุบันทั้งเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีทั้งหมด 470 แห่ง มีปริมาณน้ำ39,780 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณน้อยกว่า 2,700 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ช่วงเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคมฝนนี้ จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขณะที่เดือนสิงหาคมและกันยายนจะมีฝนตกชุก ประกอบกับมีพายุหมุนเขตร้อนพัดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูก

กรมชลประทาน วางแผนบริหารจัดการน้ำ ตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 โดยคาดการณ์พื้นที่เป้าหมาย-พื้นที่เสี่ยง บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ทบทวนเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบชลประทาน จนถึงกระบวนการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

ขณะเดียวกันช่วงสิ้นสุดการบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา ได้สำรองน้ำ 2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมวางมาตรการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค- บริโภค การเกษตร การรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ท้องถิ่น-ท้องที่ที่มีแหล่งน้ำ กักเก็บน้ำให้มากที่สุด รองรับปรากฎการณ์เอลนีโญ ยืนยันว่าแม้จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในปีนี้มีน้ำอุปโภค-บริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี

รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ส่วนในบางพื้นที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง กรมชลประทาน บูรณาการความร่วมมือกับจังหวัด บริหารจัดการน้ำตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งแจ้งไปยังโครงการชลประทาน ขอความร่วมมือเกษตรกรปรับเปลี่ยนแผนการเพาะปลูกทำนาปี สำหรับแผนการเพาะปลูกทำนาปีทั่วประเทศมีประมาณ 16 ล้านไร่ ขณะนี้ได้เพาะปลูกไปแล้ว 6 ล้านไร่ หรือร้อยละ 35 ส่วนของพื้นที่ลุ่มต่ำ-ลุ่มเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีแผนเพาะปลูก 8 ล้านไร่ ได้เพาะปลูกไปแล้วกว่า 4 ล้านไร่









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.