เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ชมรมการเล่นว่าวจังหวัดราชบุรี เชิญชวนผู้ที่สนใจในการเล่นว่าว ในเสาร์ - อาทิตย์ ที่ 1 และ 2 ก.ค. 66 นี้


28 มิ.ย. 2566, 14:31



ชมรมการเล่นว่าวจังหวัดราชบุรี เชิญชวนผู้ที่สนใจในการเล่นว่าว ในเสาร์ - อาทิตย์ ที่ 1 และ 2 ก.ค. 66 นี้




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายพันธ์  แก้วนุ้ย ประธานชมรมการเล่นว่าวจังหวัดราชบุรี เชิญชวนผู้ที่สนใจในการเล่นว่าว ในเสาร์ - อาทิตย์ ที่ 1 และ 2 ก.ค. 66 นี้เชิญชวน ผู้ที่ชื่นชอบการเล่นว่าวร่วมกัน ที่สนามด้านหลัง อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี  โดยจะมีทีมว่าวจากกลุ่มคนรักว่าวจากภาคกลางประกอบด้วย จังหวัดราชบุรี นครปฐม  สมุทรสงความ สมุทรสาคร  และจังหวัดกาญจนบุรี โดยการเล่นว่างในครั้งนี้จะมีทั้งว่าวไทย ว่าวแฟนซี  ให้ชมมากมาย การจัดกิจกรรมนี้เพื่อการอนุรักษ์ว่าวไทย และสร้างความสุข สนุกสนานให้กับเด็ก ๆ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของ จังหวัดกาญจนบุรี ให้เกิดความคึกคักมากยิ่งขึ้น โดยจะเล่นกันตั้งเวลา 15.00 น. ถึงค่ำ

สำหรับการเล่นว่าวในประเทศไทย มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย(พ.ศ.1781 - 1981) คือสมัยของพ่อกรุงศรีอินทราทิตย์ (หรือพระร่วง) ว่าวที่รู้จักกันมาก ได้แก่ "ว่าวหง่าว" หรือ”ว่าวดุ๋ยดุ่ย” ซึ่งจะใช้ชักขึ้นในพิธี "แคลง" ทุกหนทุกแห่ง เป็นความเชื่อของประชาชนในสมัยนั้นว่าเพื่อเป็นการเรียกลมหรือความโชคดีให้เกิดขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "ว่าวหง่าว"

สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) ซึ่งเป็นสมัยที่สมเด็จพระรามาธิบดีเป็นปฐมกษัตริย์การสร้างกรุง เมื่อ พ.ศ.1901 ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาลว่าห้ามมิให้ผู้ใดเล่นว่าวข้ามพระราชวังอันเนื่องมาจากทรงเกรงว่า ว่าวที่ใช้เล่นกันจะไปเกี่ยวหรือทำความเสียหายให้แก่สิ่งก่อสร้างในพระราชวัง และเมื่อครั้งสมัยพระเพทราชาก็ได้ทรงใช้ว่าวในการทำสงครามโดยใช้ ลูกระเบิดติดกับว่าวจุฬาแล้วชักว่าวลอยข้ามกำแพงเพื่อเข้าโจมดีฝ่ายข้าศึกโดยในสมัยนี้ได้ปรากฏชื่อว่าวปักเป้าขึ้นมาด้วย ทั้งนี้ยังทรงให้มีการแข่งขันการเล่นว่าวโดยเล่นเพื่อเอาแพ้ชนะกัน

ในจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ ลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยที่ 14 กรุงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงการเล่นว่าวของไทยว่า เป็นการเล่นที่สนุกสนาน เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายและขุนนาง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2449 ได้มีการจัดการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้าชิงถ้วยทองคำพระราชทานที่พระราชวังสวนดุสิตการแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์และในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ ได้ทรงให้มี การจัดกีฬาว่าวขึ้นมาอีก ครั้งหนึ่ง

ความหมาย

ว่าวเป็นการละเล่นของไทยที่มีมาช้านาน โดยการเล่นต้องหาโอกาสที่เหมาะสม ในการเล่นซึ่งโอกาสที่เหมาะสมในที่นี้ก็ คือ การหาช่วงเวลาที่มีอากาศดีลมพัดอย่างสม่ำเสมอไม่แรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้ว่าวเสียการทรงตัวและขาดได้พร้อมทั้งสถานที่ในการเล่นว่าวควรจะเป็นสถานที่กว้างพอที่จะทำให้ว่าวลอยได้อย่างอิสระสวยงาม การเล่นว่าวใช้อุปกรณ์ในการเล่นที่ไม่ยุ่งยากเพราะส่วนประกอบของว่าว โดยหลักแล้วจะมีเพียงไม้ไผ่ที่นิยมใช้ทำโครงว่าว และกระดาษที่ ใช้ติด กับโครงว่าวที่เราสร้างไว้ กระดาษกับเชือกที่ใช้ผูกกับไม้ความแข็งแรงนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ในการแข่งขันหรือเล่นเพื่อความสนุกสนาน หากใช้ในการแข่งขันเชือกกับกระดาษที่ใช้ควรจะเหนียวพอที่จะโต้ลมได้จนจบการแข่งขันโดยไม่มีการชำรุดไปเสียก่อน

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.