นักวิชาการ เผย! "เสาตอม่อสะพานพระราม 3" แม้บางแต่ไม่เป็นปัญหา
8 ก.ค. 2566, 12:17
จากกรณี "นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น" รายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพผ่านทวิตเตอร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า "ที่นี่คือเมืองไทย เสาบางเกินไปหรือเปล่าครับ" โดยหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้มีชาวเน็ตทั้งคนไทยและต่างชาติ เข้ามาถกเถียงถึงประเด็นดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก
รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการควบคุมอาคาร ที่ปรึกษาสาขาวิศกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย อธิบายว่า หากมองตามความรู้สึกขนาด อาจจะดูไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะมีขนาดที่บางมาก แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน ในการถ่ายเทน้ำหนัก
ปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง
ที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพาน การออกแบบเสาตอม่อก็มีขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ
สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก สะพานพระราม 3 ก่อสร้าง วันที่ 29 สิงหาคม 2539 และเปิดให้สัญจรในวันที่ 30 มี.ค.2543 สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจาก สะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้าง "สะพานพระราม 3" ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ ปัจจุบันเปิดใช้งานมาแล้ว 23 ปี โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแลและก่อสร้าง
รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็ก และบางกว่าเสาตอม่อที่เราคุ้นเคยกัน แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน และในการถ่ายเทน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ทำให้ดังนั้นจึงมั่นใจไดว่าเสาตอม่อ "สะพานพระราม 3" มีความแข็งแรงมั่นคงพอ และที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพานการออกแบบเสาตอม่อก็ให้เสาตอม่อขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ อีกทั้งการออกแบบลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะพานขยับตามแนวทิศทางการวิ่งของรถ ลดรอยแตกร้าวได้ดี