เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ผวจ.กาญจน์ นำพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และพิธีเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา


2 ส.ค. 2566, 10:35



ผวจ.กาญจน์ นำพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และพิธีเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา





ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ ศาลาการเปรียญและพระอุโบสถ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม พระอารามหลวง (วัดใต้) ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระเทพปริยัติโสภณ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และพิธีเวียนเทียน เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2566 พร้อมด้วย รศ.ดร.พญ.เรวิกา ไชยโกมินทร์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี นายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี ผู้แทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี ผู้แทนผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 17 ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพุทธศาสนิกชนจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วมพิธีฯ

จังหวัดกาญจนบุรี โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรี จัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2566 ณ ศาลาการเปรียญและพระอุโบสถ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม พระอารามหลวง (วัดใต้) ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นวัดศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมระดับจังหวัด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย น้อมนำหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

“วันอาสาฬหบูชา” ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ของทุกปี ได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา ทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบสมบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เกิดขึ้นในโลก ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนา

สำหรับหลักธรรมที่พุทธศาสนิกชน ควรนำไปปฏิบัติ คือ มัชฌิมาปฎิปทา หรือทางสายกลางเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะทำให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด  อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ คือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่  ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ มรรค


 

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.