เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กสศ.สร้างเครือข่ายครูรัก(ษ์)ถิ่น ปี 2566  ครูคุณภาพ และ นักพัฒนาชุมชน


2 ส.ค. 2566, 15:26



กสศ.สร้างเครือข่ายครูรัก(ษ์)ถิ่น ปี 2566  ครูคุณภาพ และ นักพัฒนาชุมชน




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) นำนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น 80 คน (จำนวนทั้งหมด 1,400 คนที่อยู่ในโครงการฯ) จาก 4 ภูมิภค (16 มหาวิทยาลัย) ร่วมกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายและการมีพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การประสานความร่วมมือ การให้ความช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยนเทคนิคการจัดประสบการณ์การสอน และกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(Professional Learning Community :PLC) ของนักเรียนทุนครูรัก(ษ์)ถิ่นทั่วประเทศ  ในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 (โรงเรียนบ้านซองกาเลีย ม.8 ตำบลหนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีนักศึกษาฯอยู่ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น  โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากเพื่อนนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น และพี่เลี้ยงระดับภาค (Mentor) ซึ่งเป็นผู้ดูแลนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่นในสถาบันนั้นๆ โดยหมุนเวียนผู้แทนที่เข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ โดยให้นักศึกษาฯได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมแบบออนไซด์

ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ หรือ Soft Skills สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมความสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาทุนฯ รวมทั้งมีเครือข่ายระดับชุมชน โรงเรียนปลายทาง ระดับสถาบัน ระดับภาค ตลอดจนระดับประเทศ ซึ่งการพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นต่อการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น  และเพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษาฯ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะดังกล่าว คณะกรรมการจึงกำหนดรูปแบบและระบบการเรียนรู้ (Learning System) อันประกอบด้วย การฝึกอบรมและเรียนรู้ (Training) การโค้ช (Coaching) การให้คำปรึกษา(Mentoring) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) เพื่อเสริมสมรรถนะทั้งมิติความรู้(Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการเชี่ยวชาญ (skill) รวมทั้งการจัดการฐานข้อมูลสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น นอกจากนั้นยังมีการเชิญผู้บริหารและบุคลากร ด้านการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร มาให้ความรู้ ให้แง่คิดในการทำงาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาฯ ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย(เสียง นายธงชัย สังขวิภาส ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา(สพป.3กาญจนบุรี)  และนายชัยศักดิ์ ภูมูล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกองม่องทะ (สพป.3กาญจนบุรี) เสื้อแขนยาวสีขาว 

สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการพัฒนานักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ตั้งแต่ช่วงปี 2563 – 2564 ที่ผ่านมากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ. ) ได้สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจน ในพื้นที่ห่างไกล ให้เป็นครูรุ่นใหม่ในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนปลายทางของชุมชน โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาจนจบหลักสูตรวิชาชีพครู เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูในการจัดการเรียนการสอน ให้สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนได้ตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน อีกทั้งมีความสอดรับกับบริบทความต้องการของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลโดยมีคุณลักษณะสำคัญของครูรัก(ษ์)ถิ่น ที่สำคัญ คือ การมีสมรรถนะพื้นฐานวิชาชีพครู  การมีสมรรถนะทางวิชาการ  การมีสมรรถนะทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21   มีความสามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลาย  มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตวิญญาณความเป็นครู  มีเจตคติ และ สมรรถนะเฉพาะที่เหมาะ ในการทำงานโรงเรียนในชุมชนพื้นที่ห่างไกล  และสุดท้าย สามารถสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนและชุมชนได้

คุณลักษณะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิต และ ทักษะทางวิชาการ จะเป็นสิ่งหนุนเสริมให้กับนักษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น สามารถจัดการเรียนการสอนในสถาบัน ทั้งยังเป็นการหนุนเสริมทักษะชีวิตที่ครอบคลุมประเด็นพหุวัฒนธรรม การเรียนรู้ความแตกต่าง การเข้าใขเคารพต่อความหลากหลายทางวิธีคิดและวัฒนธรรมการเรียรรู้กระบวนการสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้จึงมีความสำคัญยิ่ง การสร้างเครือข่ายและการมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การประสานความร่วมมือ การให้ความช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยนเทคนิคการจัดประสบการณ์การสอนและกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ผศ.ดร.พิศมัย รัตนโรจน์สกุล ผู้จัดการโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ. ) กล่าวว่าโครงการทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้เป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชนบ้านเกิดโดยความร่วมมือของ 6 หน่วยงาน ศธ. อว. สพฐ. กคศ. คุรุสภา และกสศ. เป็นการสร้างโอกาสให้กับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่มีใจรักในวิชาชีพครูและมีศักยภาพในการเรียนรู้ ได้เรียนจบจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างมีคุณภาพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสมรรถนะพื้นฐานของวิชาชีพครู มีสมรรถนะการเรียนรู้ในศตวรรณที่ 21 มีสมรรถนะของการเป็นนักพัฒนาชุมชน และกลับไปเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ครูรุ่นใหม่นวัตกรรมการผลิตและพัฒนาครู หลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ และสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชนโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล 1,500 แห่ง มีครูเพียงพอ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูกว่า 15 แห่ง ทั่วประเทศ ในการเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง มุ่งผลิตครูคุณภาพเพื่อสนองความต้องการของชุมชน ทั้งการพัฒนาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครู การจัดกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ และกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นครูเพื่อให้ได้บัณฑิตครูคุณภาพตามเป้าหมาย สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและพัฒนาครู กาญจนบุรี - (Systems change) อันจะนำไปสู่การร่วมมือกันยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศอีกด้วย

นายศุภชัย ไตรไทยธีระ  ประธานมูลนิธิปัญญากัลป์  กล่าวว่า โครงการพัฒนาเครือข่ายนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์) ถิ่น เพื่อเป็นการเชื่อมโยง สานสัมพันธ์ เครือข่ายนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ.2565 มีขอบเขตทั้งสิ้น 16 มหาวิทยาลัย ใน 4 ภาค กว่า 1,200  คน ประกอบไปด้วย ภาคเหนือ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ ภาคใต้ มหาวิทยาลลัยราชภัฏสุราษฏ์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ตนมองว่าการพัฒนา การสร้างเครือข่ายนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ให้มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นเครือข่ายครูที่เข้มแข็งและยั่งยืนในอนาคต จึงมีความจำเป๋นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาและยกระดับเครือข่ายนักศึกษาทถุนครูรัก(ษ์)ถิ่น จากกลุ่มนักศึกษษ สู่การจัดตั้งชมรม สมาคม เป็นเป็นองค์กรกลางในการประสานความร่วมมือ ยึดโยง ครูรัก(ษ์)ถิ่น ทั่วประเทศ เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือติดตาม ทั้งในด้านการเรียนการสอน การดำเนินชีวิต การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และการสร้างเสริมการเป็นครู นักพัฒนาชุมชนบนฐานการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่สามารถสร้างการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นางสาวอาลิสา เสาหล้า นักศึกษาโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 1  จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  กล่าวว่าจากการที่ได้ออกไปเป็นครูฝึกสอน ที่โรงเรียนบ้านหนองปลามัน ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ ไม่มีสถานะทางทะเบียน ทำให้มองว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เด็กและเยาวชนไม่สามารถมีโอกาสได้ศึกษาต่อ ตนจึงมองว่า การเป็น ครูรัก(ษ์)ถิ่น ที่กลับมาสอนที่โรงเรียนในถิ่นของตนเอง มีความจำเป็น โดยเฉพาะการต้อง สร้างประโยชน์  และพัฒนาชุมชน สร้างเด็กและเยาวชน ให้มีโอกาศทางการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะ การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา ต่างๆที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อ เด็กเยาวชน รวมไปถึงชุมชน โดยการสร้างเครือข่าย ครูรัก(ษ์)ถิ่น มีความสำคัญมาก เพราะ สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์  สร้างความรู้ หรือ กระทั่งการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ในเครือข่าย

นางสาวนัศริตา อูเมาะมะลี นักศึกษาโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 3 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนอยากเป็นครู มาตั้งแต่เด็ก แต่ โอกาส ของตนมีน้อย จนได้มาเข้าร่วมโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ซึ่งตนมองว่าตอบโจทย์กับ คนที่อยากเป็นครูแต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งการไที่ได้ทุนสามารถทำให้ตนเองพัฒนาตัวเองให้ดีมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าไปเติมเต็มให้กับโรงเรียนปลายทาง ที่มีขนาดเล็ก ยังมีความขาดแคลนในหลายๆด้าน ครูรัก(ษ์)ถิ่น จึงมีความสำคัญในการที่ ครูในโครงการนี้ จะนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ กลับไป พัฒนาโรงเรียน โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายครูรัก(ษ์)ถิ่น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากครูรัก(ษ์)ถิ่น ในพื้นที่ต่างๆ ว่าในแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาค มีความแตกต่างอย่างไร มีปัญหา อุปสรรค ด้านใดบ้าง จนสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนา ต่อยอด และสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นได้

จากการวิเคราะห์ของคณะวิจัยธนาคารโลก ร่วมกับการสอบทานฐานข้อมูล สพฐ. พบว่าประเทศไทยมีโรงเรียนราว 2,000 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่อาจจะควบรวมได้ (Protected School หรือ Standalone) เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง โรงเรียนตามแนวชายแดน โรงเรียนที่ตั้งอยู่บนเกาะแก่ง รวมทั้งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลให้ดำรงอยู่ต่อไปเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามพบว่า ปัญหาของโรงเรียนทเหล่านี้คือครูขอย้ายบ่อยเพราะไม่ใช่คนในท้องถิ่น และไม่มีครูมาทดแทนจึงมีครูไม่พอกับชั้นเรียน โดยเฉพาะครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษา จึงเป็นที่มาของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น

สำหรับโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเป็นการสร้างโอกาสให้กับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่มีใจรักในวิชาชีพครูและมีศักยภาพในการเรียนรู้ ได้เรียนจบจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างมีคุณภาพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสมรรถนะพื้นฐานของวิชาชีพครู มีสมรรถนะการเรียนรู้ในศตวรรณที่ 21 มีสมรรถนะของการเป็นนักพัฒนาชุมชน และกลับไปเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตน

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูกว่า 15 แห่ง ทั่วประเทศ ในการเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง มุ่งผลิตครูคุณภาพเพื่อสนองความต้องการของชุมชน ทั้งการพัฒนาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครู การจัดกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ และกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นครูเพื่อให้ได้บัณฑิตครูคุณภาพตามเป้าหมาย สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและพัฒนาครู (Systems change) อันจะนำไปสู่การร่วมมือกันยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศต่อไป

 



 


 

 


คำที่เกี่ยวข้อง : #เครือข่ายครูรัก(ษ์)ถิ่น  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.