เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง "ธณิกานต์" อดีต ส.ส.พปชร. ตลอดชีวิต เซ่นปมเสียบบัตรแทนกัน


4 ส.ค. 2566, 13:08



ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง "ธณิกานต์" อดีต ส.ส.พปชร. ตลอดชีวิต เซ่นปมเสียบบัตรแทนกัน




เมื่อวันที่ 3 ส.ค.66 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ คมจ.2/2564ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยื่นคำร้องกรณี น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ผู้คัดค้าน มีพฤติการณ์ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง กรณีเสียบบัตร ส.ส. แทนกันในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อวันที่ 8 ส.ค.เวลากลางวัน ผู้คัดค้านลงชื่อเข้าร่วมประชุมสภาซึ่งมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. … โดยไม่ได้ลาประชุม แต่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมระหว่างเวลาประมาณ 13.30-15.00 น. ผู้คัดค้านฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติของตนกับ ส.ส.รายอื่น หรือบัตรของผู้คัดค้านอยู่ในความ ครอบครองของ ส.ส.รายอื่นโดยความยินยอมของผู้คัดค้าน เพื่อให้ ส.ส.รายนั้น ใช้บัตรของผู้คัดค้านกดปุ่มแสดงตนและลงมติแทนผู้คัดค้านในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. … วาระที่ 1 และวาระที่ 3 ทำให้ผลการลงมติ พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม มีผลกระทบต่อกระบวนการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ กระทบต่อเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย การกระทำของผู้คัดค้านเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง



เหตุเกิดที่อาคารรัฐสภา แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงาน ธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อ 6-8, 11, 17, 21 ประกอบข้อ 27 ให้ผู้คัดค้านหยุดปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ศาลฎีการับคำร้องจนกว่าจะมีคำพิพากษา ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่ วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้าน และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 87 ผู้คัดค้านให้การปฏิเสธ

องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานตามทางไต่สวนรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านไม่ได้อยู่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการที่ปรากฏชื่อผู้คัดค้านแสดงตนและลงมติ ทั้งสองครั้งมิได้เกิดจากความผิดพลาดของระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้คัดค้านเป็นผู้เก็บรักษาบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดง ตนและลงมติไว้กับตนเองและได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์นั้นลงมติมาตั้งแต่ก่อนจนถึงหลังเกิดเหตุอย่างต่อเนื่องทั้ง วัน โดยไม่ปรากฏว่ามีบุคคลอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในช่วงเกิดเหตุซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงไม่ถึง 2 ชั่วโมง กรณี จึงเป็นการยากที่จะมีผู้อื่นลักลอบเอาบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติของผู้คัดค้านไปและส่งกลับคืนให้โดย ผู้คัดค้านไม่รู้เห็นได้ หากมี ส.ส.รายอื่นนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงลงมติของผู้ คัดค้านไปใช้แสดงตนและลงมติในเวลาเกิดเหตุโดยผิดหลงดังที่ผู้คัดค้านอ้าง การที่ผู้คัดค้านได้รับบัตร อิเล็กทรอนิกส์คืนมาก็แสดงว่าส.ส.รายนั้นได้ทราบถึงความผิดหลงแล้ว ส.ส.คนดังกล่าวน่าจะต้องตรวจสอบและแจ้งให้มีการแก้ไขผลการลงมติ แต่ตามรายงานการประชุม สภาผู้แทนราษฎรวันเกิดเหตุกลับไม่ปรากฏว่ามี ส.ส.รายใดใช้บัตรผิดหลง ข้ออ้างของผู้คัดค้านจึงเลื่อนลอยไม่อาจรับฟังได้

หากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติไม่ได้อยู่กับผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านกลับเข้ามาที่ห้อง ประชุมก็น่าจะต้องค้นหาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของตนให้ได้คืนมาก่อนจะลงคะแนนหลังเกิดเหตุ ซึ่งย่อมจะเป็นเหตุ ให้ผู้คัดค้านและผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณนั้นรับรู้และจดจำเหตุการณ์ได้บ้าง แต่ผู้คัดค้านกลับกล่าวอ้างลอยๆ ว่าไม่ทราบ ว่าพบบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใดและไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใดเลย นับว่าเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยเป็นอย่างยิ่ง ส่อแสดง ว่าจะเป็นการบ่ายเบี่ยงเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนพร้อมทั้งปกปิดชื่อ ส.ส.ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติของผู้คัดค้าน พฤติการณ์แห่งคดีประกอบกันมีเหตุผลและน้ำหนัก ให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านได้ฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติแก่ ส.ส.รายอื่น การออก เสียงลงคะแนนของผู้คัดค้านจึงเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ไม่สุจริต อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นส.ส.ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ทั้งขัดต่อหลัก ความซื่อสัตย์สุจริตที่ได้ปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยเฉพาะการออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้ มีผลทำให้การออกเสียงลงคะแนนของผู้คัดค้านเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริต ถือได้ว่าเกิดความเสียหายแก่สภาผู้แทนราษฎรและปวงชนชาวไทยแล้ว การกระทำของผู้คัดค้านถือได้ว่าเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ฐานไม่รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ฐานไม่ถือผลประโยชน์ของประเทศชาติ เหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเอง


นอกจากนั้น การกระทำของผู้คัดค้านดังกล่าวยังเป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการ ดำรงตำแหน่ง และฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมโปร่งใส และตรวจสอบได้ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม แต่มูลเหตุที่ทำให้ผู้คัดค้านกระทำการการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ส่วนนี้เกิดจากผู้คัดค้านได้เตรียมจัดงานเสวนาหัวข้อ “การเลี้ยงดูลูกในยุคสมัยดิจิทัล” ซึ่งเป็นโครงการกิจกรรมวันแม่ ประจำปี 2562 โดยกำหนดวันจัดงานไว้ล่วงหน้าและนัดหมายวิทยากรรวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์แก่ผู้มาร่วมงานไปก่อนแล้ว ประกอบกับร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว การกระทำในส่วนนี้จึงยังไม่พอ ถือได้ว่าเป็น กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่มีลักษณะร้ายแรง
 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.