สาปแช่งกันทั้งบาง ! "โจรใจบาป" บุกศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ตัดศรีษะ "เจ้าหลวงเฒ่า" ผู้ก่อตั้งเมืองยโสธร
7 ก.ย. 2566, 15:09
7 กันยายน 66 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดยโสธรว่า เกิดเหตุการณ์มีคนร้ายใจบาปคาดเป็นกลุ่มที่ไม่หวังดีต่อชาวยโสธร หรือไม่อาจจะเป็นพวกพี้ยาจนประสาทหลอนลงมือตัดเอาศรีษะ "เจ้าหลวงเฒ่า หรือญาพ่อเฒ่า"ผู้ก่อตั้งเมืองยโสธร ที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างไว้ที่บริเวณริมถนนปากทางเข้าวัดสิงห์ท่า เขตเทศบาลเมืองยโสธร เหตุเกิดคืนวันที่ 5 กันยายน 66 ที่ผ่านมา เป็นคืนที่ฝนตกหนัก โดยคนร้ายคาดว่าจะมา 1-2 คน ลงมือคาดคงใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดรอบๆ แล้วยกเอาส่วนศรีษะไป จุดประสงค์คนร้ายกลุ่มนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด จะสร้างสถานการณ์ให้ชาวยโสธร หรือทำไปเพราะหลอนจากฤทธิ์ยาเสพติด
ด้านตำรวจในพื้นที่ พ.ต.อ.มังกร กวีกรณ์ ผกก.สภ.เมืองยโสธร รับแจ้งได้จัดตำรวจสอบสวน และตำรวจฝ่ายสืบสวนลงพื้นที่เข้าตรวจสอบเพื่อหาเบาะแสคนร้ายอย่างเร่งด่วน โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มเสพยาเสพติด และกลุ่มคนร้ายอื่นๆ ตำรวจเมืองยโสธร จะพลิกแผ่นดินล่าให้ได้ตัวกลุ่มโจรใจบาปให้ได้ตัวโดยเร็ว
สำหรับประวัติความเป็นมาของการตั้งเมืองยโสธร “ตำนานหอ มเหศักดิ์ เป็นสถานที่รวมพระวิญญาณของเชื้อสายอดีตผู้มาก่อตั้งบ้านสิงห์ท่าในยุคแรก คือ เจ้าคำสู (บุตรของ 'พระตา' เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง ท่านเป็นผู้ตั้งบ้านสิงห์ท่าและสร้างวัดหลวงพระเจ้าใหญ่เป็นวัดแรก ปัจจุบันคือวัดสิงห์ท่า และได้สร้างหลักบ้านไว้กราบไหว้ปัจจุบันคือ ศาลหลักเมือง ผู้ครองเมืองต่อจากเจ้าคำสูคือ"เจ้าฝ่ายหน้า" (พระอนุชาของเจ้าคำสู) ท่านเป็นผู้สร้างวัดทุ่งเป็นวัดที่สอง (ปัจจุบันคือ วัดมหาธาตุ)
ท่านได้พัฒนาเมือง กำลังเจริญรุ่งเรือง ก็เกิดสงครามมายึด "นครจำปาศักดิ์"รัชกาลที่โปรดเกล้าให้"เจ้าฝ่ายหน้า"ไปรบที่นครจำปาศักดิ์ พร้อมกับ"เจ้าคำผง" (พระเชษฐา) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองตอนมดแดง (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี) "เจ้าฝ่ายหน้า" และ "เจ้าคำผง และได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 1 ว่า "พระยาพิชัยราชขัตติยวงศา"ส่วนเจ้าคำผง พระเชษฐา ได้รับพระราชทานนามว่า "พระประทุมราชสุริยวงศ์" ได้เป็นเจ้าเมืองผู้ครองเมืองอุบลราชธานี "เจ้านางไท" เป็นพระธิดาองค์เล็กของเจ้าฝ่ายหน้า (พระยาพิชัยราชขัตติยวงศา) ได้สร้างหอ มเหศักดิ์และทำพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณของบรรพบุรุษ เจ้าบ้านสิงห์ท่าและเจ้าเมืองยโสธรทุกพระองค์ มาสถิตรวมกันณ หอมเหศักดิ์แห่งนี้ ซึ่งเดิมเป็นสถานที่ตั้งบ้านเรือนของท่านพิธีกรรม"การเลี้ยง มเหศักดิ์"จะมีขึ้นในวันข้างขึ้นเดือนหกของทุกปี และรักษาสืบต่อกันมากว่า 200 ปี ปัจจุบันจะทำพิธีเลี้ยงก่อนประเพณีบุญบั้งไฟ
คำว่า"มเหศักดิ์"ผู้ที่จะเป็นมเหศักดิ์ได้นั้น จะต้องสืบเชื้อสาย มาจากกษัตริย์ล้านช้าง หรือ หลวงพระบางเท่านั้นคุณตา บำเพ็ญ ณ อุบลฯ อดีตข้าราชการอัยการ ซึ่งเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองอุบลได้ให้ข้อมูลว่าชาวล้านช้าง จะเรียก "มเหศักดิ์" ส่วนราชวงศ์จักรีจะเรียกว่า "พระเชื้อเมือง พระทรงเมือง" การทำพิธิบวงสรวงก็จะใช้เครื่องเช่นไหว้คล้ายๆกัน