เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



(รวมภาค) ชูแกงส้มญวนเมืองกาญจน์ เทศบาลปากแพรก ทำ MOU กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจน์ เตรียมฟื้นฟูอาหารประจำถิ่น แกงส้มญวน


7 ก.ย. 2566, 18:23



(รวมภาค)  ชูแกงส้มญวนเมืองกาญจน์ เทศบาลปากแพรก ทำ MOU กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจน์ เตรียมฟื้นฟูอาหารประจำถิ่น แกงส้มญวน




กาญจนบุรี – ชูแกงส้มญวนเมืองกาญจน์  เทศบาลปากแพรก ทำ MOU กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจน์ เตรียมฟื้นฟูอาหารประจำถิ่น แกงส้มญวน มีมาแต่รัชกาลที่ 3 ได้เลือนหายไปกว่า 100 ปี กลับคืนมาอีกครั้ง ยกนิ้วให้อาหารพื้นถิ่นเมืองกาญจน์

 

วันนี้ 07 ก.ย. 2566 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายปราโมทย์ อุ่นจิตสกุล  นายกเทศมนตรีเมืองปากแพรก พร้อมด้วย นายนพดล  กระจ่างฉาย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปากแพรก และกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารเมืองกาญจน์ ได้ร่วมประกอบอาหาร แกงส้มญวน อาหารพื้นบ้านประจำถิ่นของเมืองกาญจน์  โดยได้มีการจัดเตรียมวัตถุดิบในการประกอบแกงส้มญวน ซึ่งได้เลือนหายไปนานเพื่อให้กับมาเป็นอาหารประจำถิ่นอีกครั้ง โดยมีสื่อมวลชน รวมถึงบรรดาร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก ได้ร่วมลองลิ้มชิมรสชาดแบบเดิมๆ แกงส้มของชาวญวน เมื่อกว่า 100 ปี “แกงส้มญวน” มีส่วนประกอบอยู่ดังนี้ คือ กะปิ เกลือ หรือน้ำปลา หอมแดง พริกสด มะนาวสด ใบกะเพา มะเขือเหลือง และปลาสดๆ ชนิดไม่มีเกล็ด เช่นปลาคัง ปลา บึก ฯลฯ. เมื่อสุกแล้วต้องรับประทานเลยทันทีจะได้รสชาดที่เมื่อได้ชิมแล้วจะทราบถึงความแซปจริงๆ ชาวญวนจะประกอบแกงส้ม ในช่วงฤดูหนาว เพราะแกงส้มญวน เป็นอาหารจากสมุนไพรทั้งสิ้น

 

และแกงส้มญวนนี้เวลานี้กำลังเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียล เนื่องจากได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมนูอาหารประจำถิ่น  แกงส้มญวน (บ้านลิ้นช้าง) ที่ได้รับคัดเลือก 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ของจังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก  ดังนั้นทางชุมชนบ้านลิ้นช้าง นำโดย นายนพดล กระจ่างฉาย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านลิ้นช้าง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นายปราโมทย์ อุ่นจิตสกุล นายกเทศมนตรีเมืองปากแพรก ได้เชิญสื่อมวลชนชิมรสชาติที่หายไปของจังหวัดกาญจนบุรี "แกงส้มญวนบ้านลิ้นช้าง"  นายนพดล  กล่าวว่าตนเป็นคนไทยเชื้อสายญวนอยู่ที่นี่เป็นรุ่นที่ 4 แล้ว ชุมชนญวนแห่งนี้ ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่รัชกาลที่ 3 โดยใด้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้อยู่บริเวณริมน้ำแควน้อย โดยนำไม่ไผ่มาผูกเป็นแพ ทำกระต๊อบเป็นที่อยู่อาศัยบนแพ คนทั่วไปจึงเรียกว่า "บ้านแพญวน" ซึ่งแต่เดิมมีอยู่เพียง ไม่กี่หลัง มีอาชีพหาปลาเป็นหลัก เมื่อก่อนอากาสหนาวเย็น โดยเฉพาะกลางดึก และเช้ามืด ซึ่งต้องลงตะคัด เก็บตะคัด จึงทำให้หนาวเย็น จึงนำพริกสด และกะเพราใส่ในอาหาร เพื่อให้รสเผ็ดร้อนจากพริกสดและกะเพรา ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย แกงส้มชนิดนี้ จึงเรียกว่า แกงส้มแพญวน อันหมายถึงคนญวนที่อยู่บนแพชอบกิน ต่อมาเรียกเหลือเพียงแกงส้มญวนเท่านั้น แต่คนรุ่นเก่าๆ ยังเรียกแกงส้มแพญวนอยู่ คนรุ่นหลังแม้ในชุมชนเองก็ไม่ค่อยทำกินแล้ว ด้วยมีอาหารหลากหลายให้เลือก นอกจากคนเฒ่า คนแก่ ยังทำกินอยู่ แต่หาตามตลาด หรือร้านอาหารทั่วไปไม่มี หากินยาก ต้องขอขอบคุณ กระทรวงวัฒนธรรมที่มีโครงการนี้  ทำให้แกงส้มญวนได้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง นักท่องเที่ยว ที่่มาล่องแพสามารถชิมรสชาติแกงส้มญวนได้ แม่ครัวในแพส่วนใหญ่เป็นคนบ้านลิ้นช้าง ทำเมนูนี้เป็นทุกคน

 

และนายกสมาคมชาวเรือ-ชาวแพกาญจนบุรี ได้ส่งเสริมให้แกงส้มญวน (บ้านลิ้นช้าง) เป็นอาหารแนะนำ ในแพล่องทุกหลัง  ด้านนายปราโมทย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ ให้กับร้านอาหาร และประชาชนทั่วไป ที่สนใจจะเรียนรู้แกงส้มญวน นอกจากนั้น เทศบาลฯ ได้ทำ MOU กับมหาลัยราชภัฎกาญจน์ ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน โดยคณาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการเมื่อปี 2563 ทำเป็นสินค้าโอทอป แกงส้มญวนสำเร็จรูป เพื่อรักษาและคงไว้ของแกงส้มชนิดนี้ และสร้างงานสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจชุมชนต่อไป

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.