"ชาวบ้านลพบุรี" ร่วมพิธีทอดจุลกฐินสามัคคี ปีที่ 14 ที่วัดพุน้อย (คลิป)
26 ต.ค. 2562, 14:44
ผู้สื่อข่าว onb news รายงานว่า ชาวพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธาของจังหวัดลพบุรี และจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เดินทางร่วมทำบุญซื้อดอกฝ้ายนสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทย ช่วยกันทอผ้าไตย เพื่อร่วมพิธีทอดจุลกฐินสามัคคี ปีที่ 14 ที่วัดพุน้อย ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่และ หาวัดไหนจัดทำอยากขึ้นทุกปี ทำให้ในปีนี้มีประชาชน และพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธา ทยอยเดินทางมาร่วมงานบุญกันจำนวนมาก
สำหรับบรรยากาศที่วัดพุน้อย ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีประชาชนผู้มีจิตศัทธาเดินทางมาร่วมกันซื้อดอกฝ้ายที่ทางวัดพุน้อยได้ปลูกเอาไว้ นำเข้าพิธี ประเพณีการทอดจุลกฐิน พร้อมร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อทอผ้าไตย สำหรับถวายผ้าพระกฐินในวันพรุ่งนี้ แต่การทอผ้าต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว ถือเป็นงานกฐินที่ทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจทำกัน ต้องมีความสามัคคี เพื่อให้การเตรียมการในทุกขั้นตอนเสร็จเรียบร้อย ซึ่งเป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทยมีหลักฐานว่า มีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า ๒๖๘ ว่า “ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ โปรดให้ทำจุลกฐิน”
สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำกฐินมาถวาย ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่างๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
คลิป