"ชาวไทยเชื้อสายมอญ" ร่วมสืบสานวัฒนธรรม "ประเพณีพระทิ้งบาตร" ตักบาตรข้าวรวมในวันเข้าพรรษา
18 ก.ค. 2562, 08:34
ประเพณี "พระทิ้งบาตร" ซึ่งปัจจุบันก็หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นเคยทราบว่าที่ปทุมธานี ที่นนทบุรี ที่และอีกหลายๆชุมชนยังทำอยู่ โดยประเพณีพระทิ้งบาตร ถือเป็นธุดงควัตร โดยพระสงฆ์จะอธิษฐานที่จะฉันภัตตาหารเฉพาะในบาตรของตนและฉันมื้อเดียวในหนึ่งวัน อาหารต่างๆ ก็จะ ใส่รวมกันลงในบาตรปราศจากภาชนะอื่นปะปน ในชุมชนอื่นพระสงฆ์จะนำบาตรเปล่าไปส่งให้ญาติโยมบ้านใดบ้านหนึ่งแล้วกลับวัดในทันที เรียกกว่า ทิ้งบาตร จากนั้นญาติโยมก็จะนำอาหารใส่รวมกันทั้งหมดลงในบาตร แล้วนำมาส่งให้พระสงฆ์ที่วัด
แต่สำหรับที่บางขันหมากจะต่างจากที่อื่นคือ พระสงฆ์จะบิณฑบาตรปกติ แต่ญาติโยมจะทำอาหารหวานคาว ใส่บาตรพร้อมกัน โดยแทบทุกหลังคาเรือนจะทำอาหารราดบนข้าวสวย ใส่ขันตักบาตรของตน และเมื่อพระบิณฑบาตรก็จะตักอาหารพร้อมข้าวสวยใส่บาตร โดยจะรวมกลุ่มกันตามเส้นทางที่พระรับบิณฑบาตร รอบหมู่บ้าน เมื่อใส่บาตรให้พระสงฆ์แล้วก็จะเเลกข้าวปลาอาหารกันกินเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวมอญด้วยกัน ส่วนพระสงฆ์เมื่อกลับถึงวัดก็จะฉันภัตตาหารที่รับบิณฑบาตรมาในบาตรของตน โดยถือเอกาฉันภาชนะเดียวและมื้อเดียว เรียกกันติดปากว่า โลงฮะเปียงเปิงฮะเกิ้น โดยเริ่มทำกันหลังจากวันเข้าพรรษา วันแรม ๒ ค่ำเดือน ๘ ถึง วันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๘